ไพลิน | BLUE SAPPHIRE
ไพลิน | BLUE SAPPHIRE
ภาพ: ไพลินเจียระไนแบบเหลี่ยม (Faceted) คำว่า “ไพลิน” มาจากชื่อเมืองหนึ่งในประเทศกัมพูชาที่เป็นแหล่งของพลอยชนิดนี้ นอกจากนี้ไพลินยังพบ ได้ที่แหล่งสำคัญอื่นๆ ได้แก่ ศรีลังกา มาดากัสการ์ พม่า ไทย เวียดนาม ออสเตรเลีย แทนซาเนีย ไนจีเรีย อินเดีย จีน และอเมริกา ซึ่งไพลินที่มีความสวยสดงดงามจนได้รับการยกย่อง ว่าเป็นสุดยอดของไพลินมาจากแคว้นแคชเมียร์ ประเทศอินเดีย สำหรับในประเทศไทย แหล่งไพลินอยู่ที่จังหวัดกาญจนบุรีและจันทบุรี แต่ปัจจุบันมีผลผลิต ออกสู่ตลาดน้อยมาก
ภาพ: ไพลินเจียระไนแบบหลังเบี้ย (Cabochon)
ไพลินมักมีการปรับปรุงคุณภาพด้วยการเผาหรือใช้ความร้อน (heat treatment) เพื่อให้สีสวยขึ้น ซึ่งเป็นที่ยอมรับทั่วไปในตลาดการค้า แต่ก็ยังมีการปรับปรุงคุณภาพอื่นๆ ได้แก่ การย้อมสี (dyeing) การซ่านสี (diffusion treatment) การใช้ความร้อนร่วมกับการใช้สารเบริลเลียม (beryllium treatment) หรือการใช้ความร้อนร่วมกับการใส่สารประกอบโลหะหนักเพื่อเชื่อมประสาน เช่น โคบอลต์ (Co) หรือตะกั่ว (Pb) อีกด้วย ภาพ: ไพลินรูปหัวใจ หลักในการเลือกซื้อ สี สีของไพลินที่สวยและมีราคาสูงในทางการค้า ได้แก่ “Cornflower Blue” สีน้ำเงินสดแกมม่วงเล็กน้อย คล้ายสีดอกอัญชัน มองดูแล้วนุ่มนวลเหมือนกำมะหยี่ และ “Royal Blue” สีน้ำเงินสดแกมม่วงเล็กน้อย แต่ไม่มีลักษณะเนื้อนุ่มนวลเหมือนกำมะหยี่ การเลือกซื้อไพลินควรเลือกที่มีสีน้ำเงินสด อาจมีสีม่วงปนเล็กน้อย มีโทนสีปานกลาง ไม่เข้มจนมืด หรือไม่อ่อนจนจืดเกินไป และมีสีเรียบเนียนสม่ำเสมอทั่วทั้งเม็ด ความสะอาด ไพลินส่วนใหญ่มักจะพบมีตำหนิภายใน ควรเลือกซื้อไพลินที่มี มลทินภายใน ค่อนข้างน้อย เนื้อไม่ขุ่นมัวหรือทึบตัน โดยความ สะอาดมีผลโดยตรงกับราคาไพลิน ยิ่งไพลินมีความ สะอาดสูง จะส่งผลให้ราคาสูงขึ้นตามไปด้วย การเจียระไน การเจียระไนที่ดี มีเหลี่ยมที่คมชัดและมีความสมมาตร จะช่วยให้ไพลินเม็ดนั้นมีประกายที่ น้ำหนัก ขนาดของไพลินมีตั้งแต่เล็กๆจนถึงขนาด 100 กะรัตขึ้น โดยขนาดที่เป็นที่นิยมและต้องการของตลาดมากที่สุด คือขนาด 1 - 5 กะรัต อีกสิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ ระวังการเลือกซื้ออัญมณีผิดชนิด ด้วยความสับสนกับอัญมณีชนิดอื่นที่มีสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเข้มคล้ายคลึงกันกับไพลิน เช่น แทนซาไนต์ เพทายสีน้ำเงิน สปิเนลสีน้ำเงิน ไคยาไนต์สีน้ำเงิน อะความารีน เป็นต้น และระวังไพลินสังเคราะห์ โดยสังเกตจากมลทินภายในพลอย ซึ่งต้องอาศัยความชำนาญในการแยกความแตกต่างระหว่างไพลินธรรมชาติและไพลินสังเคราะห์ ดังนั้นจึงควรเลือกซื้อกับผู้ขายที่มีความน่าเชื่อถือ หรืออาจตรวจสอบชนิดของพลอยก่อนตัดสินใจเลือกซื้อ ภาพ: ไพลินสตาร์ หรือ ไพลินสาแหรก ไพลินสตาร์ หรือไพลินสาแหรก (blue star sapphire) ส่วนใหญ่จะมีสีน้ำเงินเข้มหรือน้ำเงินแกมเทา เจียระไนแบบหลังเบี้ย พลอยสตาร์คุณภาพดี ต้องมีขาครบสมบูรณ์ ตรง คมชัด อยู่ตรงกึ่งกลางของเม็ดพลอย ควรระวังไพลินสตาร์สังเคราะห์ โดยสังเกตที่ขาของดาว จะมีความคมชัดมากผิดธรรมชาติ และดูเหมือนลอยออกมาจากผิวพลอย
| ||